วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555





YYY....ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน.... YYY

                การออกแบบการเรียนการสอน ( ID ) เกิดการใช้กระบวนการของวิธีระบบ ( System  approach ) ในการฝึกทหารของกองทัพอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใดๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ  แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการมีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
                ในการออกแบบการเรียนการสอนนั้นต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่างๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษาการสื่อความหมาย  การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการเรียนการสอน ซึ่งขาดไม่ได้มี 4 ประการ คือ
1.             ผู้เรียน ต้องมีการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบกิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
2.             วัตถุประสงค์ ต้องมีการตั้ง วัตถุประสงค์ว่าต้องมีการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
3.             วิธีการและกิจกรรม  ต้องมีการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้
4.             การประเมิน ต้องมีการกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่




YYY…..การออกแบบการเรียนการสอน……YYY
                การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System  design) มีชื่อเรียกหลากหลาย  เช่น  การออกแบบการเรียนการสอน  (Instructional  design) การออกแบบและพัฒนาการสอน ( Instructional design and development)  เป็นต้น  ไม่เชื่อว่าจะมีความหลายในการออกแบบระบบการเรียนการสอน  แต่ชื่อเหล่านั้นก็มาจากต้นตอเดียวกัน  คือมาจากแนวคิดอันเดียวกันในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ  (System  approach)



YYY.....ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ...... YYY
                ในการดำเนินงานใดๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำนึงถึงประสิทธิผล  ( Effectiveness ) และ ประสิทธิภาพ ( Efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (System)  มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง  แก้ไข  การทำงานในตัวเองของมันเอง  โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ทั้งนี้เราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้


YYY....ความหมายของระบบ.... YYY
                มีผู้ให้ความหมายคำว่า “ระบบ” (System) ไว้หลากหลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)
                บานาธี่  ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า “ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ  ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  มีปฏิสัมพันธ์กัน  ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านั้นจะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรจุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้”  ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่  โดยวองให้ความหมายของระบบว่า “ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”
                จากความหมายข้างต้น  สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
1.             องค์ประกอบ
2.             องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและกัน
3.             ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ






YYY….ลักษณะของระบบที่ดี.... YYY
                ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency) และมีความยั่งยืน ( sustainable ) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน  ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.             มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.             มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์
3.             มีการรักษาสภาพตนเอง
4.             มีการแก้ไขตนเอง



YYY….จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน.... YYY
                แนวคิดของวิธีระบบ  ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน  โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า  ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ  ที่ทำงานหรือหน้าที่ที่สัมพันธ์กัน  และระบบสามารถปรับปรุง  ปรับทิศทางของตนเองได้  จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ ( Feedback )
                วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา  ปรับปรุงขึ้นมาเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน ( Model ) ขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้ที่เรียกชื่อว่า  ระบบการออกแบบการเรียนการสอน  ( Instructional  design System ) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า  การออกแบบการเรียนการสอน ( Instructional  design )
                การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่างๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฏีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษา
                จนถึงปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ( Instructional  mode )  ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ  และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อถือได้ว่า  ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด


ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger  lach  and  Ely  Model)

                เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ  10 อย่างด้วยกันคือ
1.             การกำหนด  เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน  อย่างไร
2.             การกำหนดเนื้อหา  (Specify  Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
3.             การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze  Learner  Background  Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
4.             เลือกวิธีสอน (Select  Teaching  Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
5.             กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine  Group  Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
6.             กำหนดเวลา  (Time  Allocation)  กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
7.             กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify  Setting  and  Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน  ต้องเตรียมอะไรบ้าง
8.             เลือกแหล่งวิชาการ (Select  Learning  Resources)  ต้องใช้สื่ออะไร  อย่างไร
9.             ประเมินผล  (Evaluation)  ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
10.      วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze  Feedback  for  Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไร


จากตัวอย่างรูปแบบระบบการสอนที่ยกมาจะเห็นว่าจะอยู่ในกรอบของรูปแบบดังเดิม (Generic model) ทั้งสิ้น

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ คือ  กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ   (Semprevivo ,  1982)
ในการออกแบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนของใครก็ตาม จะมีกลไกหรือมี
ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบอยู่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวคือ ข้อมูลป้อนกลับ  (Feedback)   ต่าง ๆ
การที่ระบบการสอนมีองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
ต่าง  ๆ อย่างชัดเจน จะช่วยให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ว่าปัญหาระบบเกิดจากอะไร
การดำเนินการวิเคราะห์ระบบในรูปแบบ (Model)  การสอนต่าง ๆ นั้นทำได้ง่ายเพราะมีผู้จัดสร้างกลไกและจัดหาข้อมูลเตรียมไว้ให้แล้ว
แต่ถ้าจะดำเนินการวิเคราะห์ระบบอื่นใดที่นอกเหนือไปจากนี้แล้วกระบวนการคิดวิเคราะห์ก็จะต้องมีรายละเอียดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น
ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ระบบสำหรับระบบโดยทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ระบบการเรียนการสอน ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวงจรชีวิต  (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
1.             การกำหนดปัญหา (Problem  definition)
2.             การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  (Data  collection  and  analysis)
3.             การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ  (Analysis  of  system  alternatives)
4.             ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก  (Determination  0f  feasibility)
5.             การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development  0f  the  systems  proposal)
6.             การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ  (Pilot  of  prototype  systems  development)
7.             การออกแบบระบบ  (System  design)
8.             การพัฒนาโปรแกรม  (Program  development)
9.             การนำระบบใหม่เข้าไปใช้  (System  implementation)
10.      การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems  implementation)

กิจกรรมทั้ง 10 นี้ ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้ 
เพราะในลักษณะการทำงานจริง  กิจกรรมเหล่านี้จะมี่ความเกี่ยวโยงกันจนแยกไม่ออก
ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า  กระบวนการวิเคราะห์ระบบทั้ง   10 นี้ ข้อที่กล่าวมาข้างต้นใช้สำหรับการ
วิเคราะห์ระบบที่นอกเหนือจากระบบการเรียนการสอน  ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเรียนการสอนนั้นได้สร้างกลไกและข้อมูลสำหรับตรวจสอบแก้ไขระบบอยู่ในตัวแล้ว